วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เเคทะเล

เเคทะเล


http://frynn.com/wp-content/uploads/2013/12/





แคทะเล ชื่อวิทยาศาสตร์Dolichandrone spathacea เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Bignoniaceae เปลือกแตกเป็นร่องเล็ก ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ผิวใบเรียบ ใบมัน ใบอ่อนออกสีเขียวอมแดง แก่แล้วเป็นสีเขียว ดอกเป็นดอกช่อ บานไม่พร้อมกัน ช่อดอกสั้น ดอกเป็นถ้วยปากแตรสีขาว ปลายกลีบดอกเป็นหยัก เกสรตัวผู้ 4 อัน ยาวไม่เท่ากัน ออกดอกตลอดปี ผลเดี่ยว ยาว ค่อนข้างแบน เมื่ออ่อนสีเขียวอมม่วง แก่เป็นสีน้ำตาลอมดำ แตกเป็น 2 ซีก ภายในมีเมล็ดมาก

จิกทะเล

จิกทะเล




https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/0/05/Barringtonia_asiatica_%28flower%29.jpg/



จิกเล หรือ จิกทะเล (ชื่อวิทยาศาสตร์Barringtonia asiatica; ชื่อสามัญ: Fish Poison Tree,[4][5]Putat[4] or Sea Poison Tree[4]) เป็นสายพันธุ์ของ Barringtonia พื้นเมืองที่อยู่อาศัยป่าชายเลนบนชายฝั่งในเขตร้อนชื้นและหมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกจากแซนซิบาร์ทางทิศตะวันออก ไปยังไต้หวันฟิลิปปินส์ฟิจินิวแคลิโดเนียหมู่เกาะคุกวาลลิสและฟุตูนา และเฟรนช์โปลินีเซีย มักปลูกตามถนนเพื่อการตกแต่งและร่มเงาในบางส่วนของอินเดีย
  1. จิกเลเป็นต้นไม้ใหญ่ สูงราว 20 เมตร ใบขนาดใหญ่ มันวาว มีความหนา ป้องกันการสูญเสียน้ำ ดอกขนาดใหญ่ สีขาว เกสรตัวผู้เป็นพู่ยาวเห็นได้ชัดเจน สีขาว ปลายชมพู ดอกมีกลิ่นหอมแรง บานตอนค่ำและโรยตอนเช้า ผสมเกสรด้วยผีเสื้อกลางคืนและค้างคาว ผลขนาดใหญ่ ทรงคล้ายลูกข่าง มีกากเหนียวหุ้มทำให้ลอยน้ำได้ดีคล้ายผลมะพร้าว[6]



เบญจมาศน้ำเค็ม

เบญจมาศน้ำเค็ม





https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/f/f9/Wollastonia_biflora.jpg/



  1. เบญจมาศน้ำเค็ม ชื่อวิทยาศาสตร์Melanthera biflora เป็นพืชในวงศ์ Asteraceae เป็นไม้เลื้อยเนื้ออ่อน ลำต้นมีขนสั้น ค่อนข้างแข็ง ลำต้นสีเขียวอมน้ำตาล ใบเดี่ยว ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ดอกช่อ ผลเดี่ยว ขนาดเล็ก เป็นแท่งยาวแห้ง สีน้ำตาล ใช้เป็นไม้ประดับ พบได้ทั่วไปตามป่าชายเลนที่ชื้นแฉะเสมอ

เป้งทะเล

เป้งทะเล





http://img.tarad.com/shop/p/peninsula_palmseeds/img-lib/




เป้งทะเล (อังกฤษMangrove Date Palm;ชื่อวิทยาศาสตร์Phoenix paludosa) เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ปาล์ม และเป็นพืชท้องถิ่นตามแนวชายฝั่งของอินเดีย บังกลาเทศ พม่า ไทย และมาเลเซีย เปลือกลำต้นมีรอยขรุขระสีน้ำตาลหรือเทา ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ไม่มีก้านใบย่อย โคนใบเป็นกาบห่อหุ้มยอดอ่อน ขอบใบเรียบ สีเขียวอมเหลือง ดอกเป็นดอกช่อ แยกเพศ แยกต้น ช่อดอกขนาดใหญ่ออกตามง่ามใบช่อดอกอ่อนจะมีกบขนาดใหญ่หุ้ม เมื่ออายุมากขึ้นกาบจะร่วงไป ผลเป็นผลเดี่ยว เนื้อด้านนอกอ่อนนุ่ม เมื่ออ่อนสีเขียว สุกเป็นสีส้ม มีเมล็ดเดียว ยอดอ่อนนำมาทำอาหารได้หลายชนิด เช่น ต้มกะทิแกงส้ม

ตาตุ่มทะเล

ตาตุ่มทะเล




https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/2/21/Excoecaria_agallocha_%28Blind_Your_Eye%29_W_IMG_6929.jpg/



ตาตุ่มทะเล หรือมูตอ บูตา ชื่อวิทยาศาสตร์Excoecaria agallocha เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Euphorbiaceae เปลือกลำต้นแตกเป็นร่องยาว สีน้ำตาลเข้มถึงดำ ยางสีขาว มีพิษ ใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้ม เมื่อแก่เป็นสีแดง ขอบใบหยักเล็กน้อย ผิวเรียบเป็นมัน ดอกเป็นดอกช่อ ติดกันแน่น มีก้านเดียว แยกเพศและแยกต้นตัวผู้ตัวเมีย ดอกตัวผู้สีเหลือง ส่วนดอกตัวเมียสีเขียว เกสรตัวเมียเป็นตุ่ม ผลเดี่ยว เกือบกลม มีพูสามพู ผิวเหลือง สีเขียวอ่อนถึงน้ำตาล
เป็นพืชที่พบทั่วไปตามป่าชายเลนตั้งแต่อินเดียจนถึงออสเตรเลีย ยางถ้าเข้าตาทำให้ตาบอด ถ้ากินเข้าไปทำให้ท้องเสียอย่างรุนแรง ถูกผิวหนังทำให้ระคายเคือง ใบแห้งบดเป็นผงมีสารพิษมากพอที่จะใช้ฆ่าปลาได้ รากฝนผสมกับน้ำขิงใช้พอกแก้อาการบวมตามมือและเท้า แก่นเผาไฟให้หอม ใช้เป็นส่วนผสมในยาขับลม ฟอกเลือด ขับระดู

เล็บมือนาง

เล็บมือนาง




https://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/thumb/8/88/Lepmeunaang.jpg/



  1. เล็บมือนาง (อังกฤษ: Rangoon creeper) เป็นไม้เลื้อยดอกหอมเป็นช่อ พบในแถบเอเชีย มีชื่อพื้นเมืองอื่นๆคือ จะมั่ง (เหนือ) จ๊ามั่ง (เหนือ) ไท้หม่อง (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) มะจีมั่ง (เหนือ) และ อะดอนิ่ง (มลายู ยะลา)

ปรงทะเล

ปรงทะเล



https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/0/07/Cycas_rumphii_FemaleFertileLeaves_BotGardBln0806b.JPG/



    1. ปรงทะเลหรือมะพร้าวเต่าทะเล หรือสาคูราชินี(อังกฤษQueen sago;ชื่อวิทยาศาสตร์Cycas rumphii) เป็นพืชเมล็ดเปลือยจำพวกปรง ลำต้นหยาบเกิดจากรอยที่หลุดไปของใบ สีน้ำตาลแก่ ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ปลายใบแหลม เส้นกลางใบเป็นร่องตื้นๆ โคนก้านใบย่อยมีหนาม เมล็ดสีเขียวเป็นมัน แก่แล้วเป็นสีส้มอน้ำตาล ลำต้นให้แป้งสาคูที่นำไปทำอาหารได้ เมล็ดดิบเป็นพิษ ใบใช้ทำพวงหรีด

รักทะเล

รักทะเล




https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/4/4c/Starr_010309-0534_Scaevola_taccada.jpg/


  1. รักทะเล (ชื่อวิทยาศาสตร์Scaevola taccadaอังกฤษSea Lettuce ; มาเลย์Merambongภาษาฮาวายเรียก Naupaka kahakai ภาษาตองกาเรียก Ngahu เป็นพืชมีดอกในวงศ์ Goodeniaceae พบในชายฝั่งเขตร้อนในแถบอินโด-แปซิฟิก เป็นที่พบได้ทั่วไปในเกาะคริสต์มาสและเป็นวัชพืชในบางประเทศ[2]ลักษณะเป็นไม้พุ่ม ขึ้นตามชายหาด[3] รากแผ่กว้าง ใบดก หนา มันวาว ป้องกันการสูญเสียน้ำ ใบแตกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาว บานเป็นรูปพัดครึ่งวงกลม ผลกลมสีขาว ลอยน้ำได้ สามารถเป็นพืชบุกเบิกในพื้นที่ใหม่ได้[4]

ลำพูทะเล

ลำพูทะเล



http://www.biogang.net/upload_img/blog/


  1. เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 6-15 เมตร ไม่ผลัดใบ แตกกิ่งในระดับตา เปลือกสีน้ำตาลอมชมพู หรือสีเทา แตกเป็นสะเก็ดเล็กน้อย รากหายใจตั้งตรง รูปกรวยคว่ำ ยาว 20-40 เซนติเมตร เหนือผิวดิน โคนรากหนา เรียวแหลมไปทางปลาย มักเป็นสะเก็ดสีน้ำตาลอมชมพู
  2. ใบ เป็นใบเดียว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปไข่กลับ ถึงรูปไข่ ขนาด 3-7 X 4-11 เซนติเมตร ปลายใบกลม กว้าง ฐานใบรูปลิ่มแคบ ใบสีเขียวมีนวล เส้นใบกางออกกว้าง เห็นไม่ชัด ก้านใบอ้วนสั้น ยาว 0.3-0.8 เซนติเมตร
  3. ดอก ออกเดี่ยวๆ หรือเป็นช่อกระจุกที่ปลายกิ่ง วงกลีบเลี้ยงเมื่อยังเป็นตาดอกรูปขอบขนานแกมรูปรี ปลายและโคนแคบ ยาว 2.8-3.5 เซนติเมตร หลอดกลีบเลี้ยงรูปกรวยจากโคนที่เชื่อมติดกัน มีสันชัดเจน แฉกกลีบเลี้ยงหยักลึก 6-8 แฉก รูปขอบขนานแกมรูปใบหอก หรือรูปใบหอกแกมรูปใข่ แฉกมักสั้นกว่าหลอต ผิวด้านนอกสีเขียวอ่อน โคนกลีบด้านในสีแดง กลีบดอกรูปแถบ ก้านชูอับเรณูสีขาว ออกดอกเดือนมิถุนายน-ธันวาคม
  4. ผล เป็นผลมีเนื้อ และมีเมล็ดขนาดเล็กหลายเมล็ด ฝังอยู่ในเนื้อผล ผลแข็ง รูปกลม ด้านแนวนอนยาวกว่าแนวตั้ง ขนาค 4-5 X 3-4 เซนติเมตร สีเขียว กลีบเลื้ยงแผ่บานออกและโค้งกลับ ออกผลเดือนมกราคม-กรกฎาคม
  5. เป็นพันธุ์ไม้เบิกนำชนิดหนึ่งของป่าชายเลน ขึ้นได้ดีที่ชายฝั่งทะเลที่น้ำท่วมถึงทุกวัน น้ำค่อนข้างเค็ม และดินเป็นดินปนทรายค่อนข้างลึก

โพทะเล

โพทะเล




https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/f/f8/Milo_closeup.jpg/


  1. โพทะเล (ชื่อวิทยาศาสตร์: Thespesia populnea ; ชื่อสามัญ: Portia Tree) เป็นชนิดของไม้ดอกในตระกูล Malvaceae เป็นต้นไม้ขนาดเล็กหรือไม้พุ่ม โพทะเล เป็นพืชในสกุลเดียวกับปอทะเลและมีลักษณะคล้ายคลึงกัน แหล่งอาศัยเป็นแบบเดียวกัน ดอกสีเหลือง บานตอนเช้า แก่แล้วเปลี่ยนเป็นสีแดงเช่นกัน แต่ดอกโพทะเลไม่มีวงกลมสีแดงภายในดอกแบบเดียวกับปอทะเล ใบเป็นรูปหัวใจคล้ายใบโพธิ์ ใต้ใบมีขนอ่อนปกคลุมทำให้น้ำระเหยออกจากใบได้ช้า ผลกลม เมื่อแก่เต็มที่เป็นผลแห้ง กลีบเลี้ยงรูปถ้วยติดอยู่ที่ขั้วผล
  2. ชื่อสามัญของโพทะเลในภาษาต่างๆ ได้แก่ Indian Tulip Tree, Pacific Rosewood, Seaside Mahoe (ใน ฟลอริดา), เบิฮ์สมุทร (បើស​សមុទ្រ) หรือ เจฺรยสมุทร (ជ្រៃ​សមុទ្រ) (ภาษาเขมร), Surina Suriya (ภาษาสิงหล), เบอบารู หรือ บารู บารู (ภาษามาเลย์), Milo หรือ Miro (ภาษาในกลุ่มโพลีเนเซียหลายภาษา), Makoʻi (ภาษาราปานุย), Gangaraavi (ภาษาเตลูกู), ปูวรสุ: பூவரசு (ภาษาทมิฬ), ปูวรสุ: പൂവരശ്‌ (ภาษามาลายาลัม), PakuR (ภาษาเบงกาลี) และ Plaksa (ภาษาสันสกฤต)

ปอทะเล

ปอทะเล


https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/c/cc/Starr_020803-0107_Hibiscus_tiliaceus.jpg/



  1.     ปอทะเล (ชื่อวิทยาศาสตร์Hibiscus tiliaceus)เป็นไม้ยืนต้น ใบรูปหัวใจ ขอบใบหยักถี่ ใต้ใบมีขนอ่อนๆปกคลุม ดอกสีเหลือง บานตอนสาย พอตกเย็นจะกลายเป็นสีแดงแล้วหลุดร่วงไป ผลแห้ง แตก พบปอทะเลในบริเวณรอยต่อระหว่างน้ำจืดกับน้ำเค็ม
  2.  เปลือกปอทะเลใช้ทำเชือก ใบเป็นยารักษาแผล เนื้อไม้ของปอทะเลมีความถ่วงจำเพาะ 0.6.นำไปใช้ในงานช่างไม้ได้ เช่นทำเรือ เปลือกไม้และรากใช้ต้มทำยาแก้ไข้ ใบอ่อนกินเป็นผัก ชนพื้นเมืองในฮาวายนำเนื้อไม้ไปสร้างเรือแคนู[3] ประเทศในแถบเอเชียนิยมนำปอทะเลไปทำบอนไซ ชาวโอรังอัสลีในรัฐเประ ประเทศมาเลเซียนำเปลือกทำเป็นผงแห้งใช้รักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์[4]

เหงือกปลาหมอ

เหงือกปลาหมอ



เหงือกปลาหมอ



  • ใบเหงือกปลาหมอ ใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบมีหนามคมอยู่ริมขอบใบและปลายใบ ขอบใบเว้าเป็นระยะ ๆ ผิวใบเรียบเป็นมันลื่น แผ่นใบสีเขียว เส้นใบสีขาว มีเหลือบสีขาวเป็นแนวก้างปลา เนื้อใบแข็งและเหนียว ใบกว้างประมาณ 4-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร ใบจะออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ก้านใบสั้น
  • ดอกเหงือกปลาหมอ ออกดอกเป็นช่อตั้งตามปลายยอด ยาวประมาณ 4-6 นิ้ว ดอกมีทั้งพันธุ์ดอกสีม่วง (หรือสีฟ้า) และพันธุ์ดอกสีขาว ที่ดอกมีกลีบรองดอกมี 4 กลีบ กลีบแยกจากกัน บริเวณกลางดอกจะมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่
  • ผลเหงือกปลาหมอ ลักษณะของผลเป็นฝักสีน้ำตาล ลักษณะของฝักเป็นทรงกระบอกหรือรูปไข่หรือกลมรี ยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร เปลือกฝักมีสีน้ำตาล ปลายฝักป้าน ข้างในมีฝักมีเมล็ด 4 เมล็ด

โกงกางใบเล็ก

โกงกางใบเล็ก



https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/b/bd/Thakafathi.JPG/


โกงกางใบเล็ก เป็นไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ที่ขึ้นได้ในดินเลนที่ค่อนข้างอ่อน ลึกและมีน้ำทะเลท่วมถึงตลอดเวลา ดังนั้นจึงพบไม้ชนิดนี้ขึ้นตามชายฝั่งทะเลริมแม่น้ำ, ชายคลองและป่าชายเลน นอกจากประเทศไทยแล้วยังสามารถพบในตอนเหนือของออสเตรเลีย, กวมศรีลังกาอินเดียอินโดนีเซีย,มาเลเซียไมโครนีเซียนิวแคลิโดเนียปาปัวนิวกินีฟิลิปปินส์สิงคโปร์หมู่เกาะโซโลมอนไต้หวันประเทศวานูอาตู, และเวียดนาม
มีชื่อพื้นเมืองดังนี้: โกงกาง (ระนอง), โกงกางใบเล็ก (ภาคกลาง), พังกาทราย (กระบี่), พังกาใบเล็ก (พังงา)

ต้นเเสม

ต้นเเสม



ต้นแสม



  แสมเป็นพืชที่ขึ้นตามบริเวณชายฝั่งทะเล และมีน้ำทะเลท่วมถึง แสม มี ชนิด คือ แสมขาว แสมดำ แสมทะเล ลักษณะทั่วไป ของต้นแสมประกอบด้วย ใบ บริเวณเซลล์ผิวในมีผนังหนาเป็นแผ่น มีปากใบ (Stoma) ที่ผิวใบด้านล่างป้องกันการระเหยของน้ำ นอกจากนี้ที่ใบยังมีต่อมขับเกลือ (Saltgland) ช่วยควบคุมระดับความเข้มข้นของเกลือในพืช โดยขับออกทางใบ ราก แสมเป็นพืชที่ขึ้น อยู่ในบริเวณที่มีน้ำทะเลท่วมถึง จึงมีรากพิเศษเรียกว่า รากหายใจโผล่จากดินหรือโคลน เมล็ดแสมมีรากแก้วเป็นขนแข็งและงอนขึ้น จึงสามารถยึดเหนี่ยวดินไว้ได้แน่น ทำให้ต้นอ่อนทนทานกระแสน้ำ และคลื่นเป็นอย่างดี ส่วนใหญ่เมล็ดจะงอกก่อนที่จะร่วงหล่นจากต้น เมื่อหล่นลงดินแล้วเมล็ดก็จะแตก รากหยั่งลงดินได้ทันที การแพร่กระจายของเมล็ดอาศัยน้ำเป็นสื่อโดยต้นอ่อนหรือผลแก่สามารถลอยน้ำได้

ต้นโกงกาง

ต้นโกงกาง



https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/f/f0/Mangroves.jpg/



   ป่าโกงกาง (อังกฤษ: Mangrove forest หรือ Intertidal forest) คือเป็นกลุ่มสังคมพืชซึ่งขึ้นอยู่ในเขตน้ำลงต่ำสุดและน้ำขึ้นสูงสุด บริเวณชายฝั่งทะเล ปากแม่น้ำหรืออ่าว อีกความหมายหนึ่ง หมายถึง สังคมพืชที่ประกอบด้วยพันธุ์ไม้หลายชนิดหลายตระกูล และเป็นพวกที่มี ใบเขียวตลอดปี (evergreen species) ซึ่งมีลักษณะทางสรีรวิทยาและความต้องการสิ่งแวดล้อมที่คล้ายกัน ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยพันธุ์ไม้สกุลโกงกาง(Rhizophora spp.) 
ได้มีการค้นพบป่าประเภทนี้มาตั้งแต่เมื่อคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เดินทางมาบริเวณชายฝั่งตะวันตกของเกาะคิวบา ต่อมา เซอร์ วอลเตอร์ เรลห์ ได้พบป่าชนิดเดียวกันนี้อยู่บริเวณปากแม่น้ำในประเทศตรินิแดดและ กิอานา
คำว่า "mangrove" เป็นคำจากภาษาโปรตุเกสคำว่า "mangue" ซึ่งหมายถึงกลุ่มสังคมพืชที่ขึ้นอยู่ตามชายฝั่งทะเลดินเลน และใช้กันแพร่หลายในประเทศแถบลาตินอเมริกา ส่วนประเทศอื่น ๆ ก็ใช้เรียกตามภาษาของตัวเอง เช่น ประเทศมาเลเซียใช้คำว่า "manggi-manggi" ประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเรียกป่าชายเลนว่า "mangrove" ส่วนภาษาไทยเรียกป่าชนิดนี้ว่า "ป่าชายเลน" หรือ "ป่าโกงกาง"
บริเวณที่พบป่าชายเลนโดยทั่วไป คือตามชายฝั่ง ทะเล บริเวณปากน้ำ อ่าว ทะเลสาบ และเกาะ ซึ่งเป็นบริเวณที่น้ำทะเลท่วมถึงของประเทศ ในแถบภูมิภาคเขตร้อน ส่วนเขตเหนือหรือใต้เขตร้อน จะพบป่าชายเลนอยู่บ้างแต่ไม่มาก โดยพื้นที่ที่พบป่าชายเลนเช่น ในกลุ่มประเทศของภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า และ ไทย เป็นต้น